top of page

อุปกรณ์ไฟฟ้า
และอิเล็กทรอนิกส์
ส่วนประกอบของอุปกรณ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์หลายอย่างทำงานร่วมกัน อีกทั้งการทำงานของเครื่องใช้ไฟฟ้าเหล่านี้ ต้องอาศัยการทำงานของเซ็นเซอร์ แผงควบคุมขนาดเล็ก และเครื่องจักรกลไฟฟ้า
มอเตอร์

มอเตอร์เป็นอุปกรณ์ไฟฟ้าที่แปลงพลังงานไฟฟ้าให้เป็นพลังงานกลที่ต้องการให้เกิดการเคลื่อนที่ในลักษณะการหมุน มอเตอร์มีอยู่หลายประเภท แต่ละประเภทมีคุณสมบัติที่แตกต่างกันออกไปขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ของการใช้งาน
ประเภทมอเตอร์แบ่งตามการใช้กระแสไฟฟ้า
มอเตอร์ไฟฟ้ากระแสสลับ หรือดี.ซี.มอเตอร์
มอเตอร์ที่ต้องใช้กับแหล่งจ่ายไฟฟ้าที่ใช้ในบ้านเรือน มอเตอร์กระแสสลับถูกนำไปใช้กับเครื่องใช้ไฟฟ้าหลายชนิด โดยเฉพาะเครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีลักษณะการเคลื่อนไหวแบบหมุน เช่น เครื่องซักผ้า พัดลม เครื่อปั่น มอเตอร์กระแสสลับวามารถแบ่งตา มระบบการจ่ายไฟฟ้า ซึ่งมี 2 ประเภท คือ
มอเตอร์ที่ต้องใช้กับแหล่งจ่ายไฟฟ้ากระแสตรง เช่น เซลล์ไฟฟ้าหรือแบตเตอรี่ มอเตอร์ประเภทนี้สามารถควบคุมการหมุนของเข็มให้หมุนตามเข็สนาฬิกาหรือทวนเข็มนาฬิกา หรือหยุดหมุนได้ง่าย ซึ่งอัตราเร็วของการหมุนขึ้นอยู่กับแรงเคลื่อนไฟฟ้าหรือความต่างศักย์ไฟฟ้า ที่จ่ายให้กับมอเตอร์
มอเตอร์ไฟฟ้ากระแสตรง หรือ เอ.ซี. มอเตอร์
มอเตอร์แบบหนึ่งเฟส


มอเตอร์ขนาดเล็กมีกำลังพิกัดต่ำกว่า 1 แรงม้า ขนาดใหญ่สุดไม่เกิน 5 แรงม้า จะใช้กับความต่างศักย์ 220 โวลต์ ส่วนใหญ่ใช้ตามบ้านเรือน
มอเตอร์แบบสามเฟส
มอเตอร์ที่ใช้ในงานอุตสาหกรรม ต้องใช้ระบบไฟฟ้า 3 เฟส ใช้ความต่างศักย์ 380 โวลต์ มีสายไฟฟ้าเข้ามอเตอร์ 3 สาย มีกำลังต่ำกว่า 1 แรงม้า
อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์
อิเล็กทรอนิกส์ (Electronics) เกี่ยวข้องกับการควบคุมการผ่านของกระแสไฟฟ้าในวงจร ซึ่งมีชิ้นส่วนหรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เป็นส่วนประกอบเพื่อควบคุมการผ่านของกระแสไฟฟ้า
ตัวต้านทาน (Resistor)
มีสมบัติในการต้านการเคลื่อนที่ของกระแสไฟฟ้ามีหน่วยเป็นโอห์ม ในวงจรไฟฟ้าตัวต้านทานมีค่ามากจะทำให้มีกระแสไฟฟ้าผ่านได้น้อย

ตัวต้านทานคงที่ เป็นตัวต้านทานที่มีค่าความต้านทานของการเคลื่อนที่ของกระแสไฟฟ้าคงที่ สามารถอ่านค่าความต้องทานได้จากแถบสีที่คาดอยู่บนตัวต้านทาน

แอลดีอาร์ เป็นตัวต้านทานที่เปลี่ยนค่าาความต้านทานเปลี่ยนไปตามปริมาณแสงที่ตกกระทบถ้าปริมาณแสงที่ตกกระทบแอลดีอาร์มาก แอลดีอาร์จะมีค่าความต้านทานต่ำ
ตัวเก็บประจุ (Capacitor)
ทำหน้าที่เก็บสะสมประจุไฟฟ้า โดยนำสารตัวนำ 2 ชิ้นมาวางในลักษณะขนานกัน โดยระหว่างตัวนำทั้งสองจะถูกกั้นด้วยฉนวนที่เรียกว่า ไดอิเล็กตริก ซึ่งไดอิเล็กตริกนี้อาจจะเป็นอากาศ ไมก้า พลาสติก เซรามิก หรือสารที่มรสภาพคล้ายฉนวนอื่นๆ

ตัวเก็บประจุไฟฟ้าประเภทอิเล็กโทรไลท์ ใช้ในงานที่ต้องการค่าควาต้านทานของฉนวนที่มีค่าสูงและมีเสถียรภาพดีในสภาพแวดล้อมที่มีอุณภูมิสูง โดยมากนิยมใช้ในวงจร จ่ายกำลัังไฟฟ้าสูง
ไดโอด (Diode)

ตัวเก็บประจุไฟฟ้าประเภทเซรามิก
เป็นตัวเก็บประจุที่ใช้เซรามิกเปนไดอิเล็กตริกและเก็บประจุได้ไม่เกิน 1 ไมโครฟารัด นิยมใช้กันทั่วไปเพราะมีราคาถูก เหมาะสำหรับใช้ในวงจรย่านความถี่วิทยุ
เป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ทำจากสารกึ่งตัวนำ ที่มีคุณสมบัติยอมให้กระแสไฟฟ้าผ่านได้ทางเดียว จึงทำหน้าที่ควบคุมทิศทางการเคลื่อนที่ของกระแสไฟฟ้า และป้องกันกระแสไฟฟ้าเคลื่อนที่ย้อนกลับ


ไดโอดธรรมดา ทำหน้าที่ควบคุมการเคลื่อนที่ของกระแสไฟฟ้าให้ผ่านทางเดียว หากต่อวงจรผิด กระแสไฟฟ้าจะไม่สามารถผ่านได้
ไดโอดเปล่งแสง ทำหน้าที่ในการเปลี่ยนพลังงานแสงโดยสามารถเปล่งแสงออกมาได้เมื่อได้รับกระแสไฟฟ้าและความต่างศักย์ไฟฟ้าที่เหมาะสม
เซ็นเซอร์ (Sensor)
ใช้ในการเปลี่ยนปริมาณทางกายภาพให้เป็นสัญญาณไฟฟ้า ซึ่งปัจจุบันเซ็นเซอร์ถูกนำมาประยุกต์ใช้เป็นส่วนประกอบของเครื่องใช้ไฟฟ้ากันจำนวนมาก

สวิตซ์กลไก เป็นอุปกรณ์แบบกลไก ทำหน้าที่ตัด ต่อ วงจรไฟฟ้าเมื่อได้รับแรงกดดัน สวิตซ์แบบนี้มักจะนำไปใช้ในงานอุตสาหกรรมหรือเครื่องจักรที่เป็นระบบอัตโนมัติ

รีดสวิตซ์ ที่ควบคุมการเปิด-ปิดจากการตรวจจับควาามเข้มของสนามแม่เหล็กแทนการกด มักจะนำไปประยุกต์ใช้ในวงจรสัญญาณกันขโมย เพื่อตรวจจับการเปิด-ปิด





แอลดีอาร์ ตัวต้านทานแปลค่าตามความสว่างของแสงจึงใช้เป็นตัวรับรู้ความสว่าง เมื่อมีแสงมาตกกระทบ
แอลดีอาร์น้อย แอลดีอาร์มีค่าความต้านทานมากใช้ในวงจรเปิดปิดแสงสว่างอัตโนมัติ
โฟโตไดโอด ทำหน้าที่เปลี่ยนแสง
ให้เป็นพลังงานไฟฟ้า โดยค่าการนำกระแสไฟฟ้าจะมากขึ้นเมื่อความเข้มแสงมากขึ้น ใช้งานในวงจรเปิด-ปิดไฟถนนอัตโนมัติ





คอนเดนเซอร์ไมโครโฟน เปลี่ยนเสียงเป็นพลังงานไฟฟ้า โดยค่าความต่างศักย์ไฟฟ้าของคอนเดนเซอร์ไมโครโฟนจะขึ้นกับค่าความดังและความถี่เสียงไมโครโฟนชนิดนี้นำไปใช้ในโทรศัพท์ไร้สายวงจรตรวจจับเสียง
อัลตราโซนิกเซ็นเซอร์ เปลี่ยน
เสียงเป็นพลังงานไฟฟ้าเช่นเดียวกับคอนเดนเซอร์ไมโครโฟน แต่จะตอบสนองเฉพาะช่วงความถี่ประมาณ 38-40 กิโลเฮิรตซ์ซึ่งสูงกว่าที่มนุษย์ได้ยิน จึงมักนำไปใช้ในการวัดระยะทาง



แผงควบคุม
ขนาดเล็ก
เป็นแผงวงจรอิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้ตัวควบคุมขนาดเล็กที่สามารถเชื่อมต่อกับโปรแกรมได้เรียกว่า "ไมโครคอนโทรเลอร์" ทำงานร่วมกับวงจรเชื่อมต่อและโปรแกรมภาษาคอมพิวเตอร์ที่ใช้ในการพัฒนาโปรแกรมใช้งานและสื่อสารข้อมูล โดยปัจจุบันมีแผงตัวควบคุมขนาดเล็กหลายประเภท

แผงวงจร IPST-Link เป็นแผงวงจรที่ใช้ร่วมกับซอฟต์แวร์ Scratch เพื่อเรียนรู้การเขียนโปรแกรมแบบบล๊อก และเชื่อมต่อกับเซ็นเซอร์

แผงวงจร IPST MicroBOX แผงวงจรสำหรับกการควบคุมหลัก โดยมีไมโครคอนโทรเลอร์ควบคุมการทำงาน โดยการเขียนโปรแกรมจะทำงานผ่านคอมพิวเตอร์ด้วยโปรแกรมภาษา C/C++ จากซอฟต์แวร์ Anduino แผงวงจรสามารถรับข้อมูลจากสิ่งปแวดล้อม เช่น แสง อุณหภูมิ ระยะห่างจากวัตถุ เป็นต้น นอกจากนั้นยังมีจุดต่อเพื่อส่งสัญญาณออกไปควบคุมอุปกรณ์ภายนอก เช่น ไดโอดเปล่งแสง ลำโพง มอเตอร์ ไฟฟ้ากระแสตรง เซอ์โวมอเตอร์ และมีจอแสดงผลแบบกราฟิกสี
bottom of page